ฟังเพลงออนไลน์ ดีเจออนไลน์ ฟังเพลง ดีเจ สถานีวิทยุออนไลน์ สปอร์ตวิทยุ

musiclnw banner

Chat room หาเพื่อน หากิ๊ก ฟังเพลง มาคุยกัน

Music Intro (INTER)ฟังเพลงกดปุ่ม

YouisDJonline(THAI)ฟังเพลงกดปุ่ม

YOUISDJ RADIO(THAI)


Radio By 10GB Radio

ขอเพลงฝากประกาศที่นี่เลยครับ

ขอเพลงฝากประกาศฟรีได้ที่นี่เลยครับ
code

สิ่งที่น่าสนใจ

โปรดรอสักครู่แล้วสิ่งที่คุณสนใจจะปรากฏ

MusiC

ฟังเพลงออนไลน์,ดีเจออนไลน์,สถานีวิทยุออนไลน์,ฟังเพลง,ดูหนัง,เล่นดนตรี,โชว์เพลง,ร้องเพลง,เต้น

เรื่องล่าสุดจากบอร์ด

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การใช้งานโปรแกรม Vitual DJ

อยากเป็นดีเจออนไลน์ หรือ ดีเจจัดรายการต้องใช้โปรแกรมนี้ให้เป็นครับ
Virtual Dj เด่วถ้าว่างๆ ผมจะสอนวิธีการใช้งานโปรแกรมเบื้องต้นครับ
การใช้งาน Virtual DJ
1. ขั้นแรกเลือกเพลงที่ต้องการจะมิกซ์ โดยการคลิกที่เพลงที่ต้องการ (ตามตัวอย่าง )
แล้วลากไปไว้ที่ Turntable ตัวที่ 1 ด้านซ้ายมือ (ต่อไปนี้จะเรียกว่า DECK 1)
(ดูรูป VDJ 01)


2. คลิกปุ่ม เพื่อเล่นเพลง Play (Stutter) (ควรรอให้Virtual Dj โหลดเพลงให้เสร็จก่อนนะครับ)
(ดูรูป VDJ 02)

3. โหลดเพลงที่ต้องการจะเล่นต่อไปที่ Turntable ตัวที่ 2 ด้ายขวามือ (ต่อไปนี้จะเรียกว่า DECK 2)
(ดูรูป VDJ 03)

4. ลองกดปุ่ม Play (Stutter) ที่ Deck 2 เพื่อให้เพลงทั้งสองเพลงมาเชื่อมต่อกัน
จะเห็นได้ว่าเพลงที่สองยังไม่เข้ากัน ทั้งจังหวะ(Rhythms)และความเร็วเพลง(BPM : Beat Per Minute)ยังไม่เข้ากัน

5. ทดลองโดยการคลิกขวาที่ปุ่ม Sync (Virtual DJ Version อื่นอาจเรียกว่า Beat Lock นะครับ)ที่ Dcek2 จะเห็นได้ว่า จังหวะได้เข้ากัน
(ดูรูป VDJ 04)

(สังเกตุโดยจะเห็นได้ว่าเส้นคลื่นเสียง(Waveform)บอกจังหวะบน Rhythm Window ผสานกันเป็นเส้นเดียว)

Rhythm Window 01 คลื่นเสียงที่ยังไม่เข้ากัน (ดูรูป Rhythm Window 01)
Rhythm Window 02 คลื่นเสียงที่เข้ากัน (ดูรูป Rhythm Window 02)

แต่ว่าคลื่นเสียงเข้ากันได้แต่ไม่นานก็แยกกันอีกครั้ง นั้นเป็นเพราะว่า ความเร็วของเพลง(BPM)ยังไม่เข้ากันนะครับ
(สังเกตุบนแถบข้อมูลที่แสดง BPM ว่า ทั้งสองเพลงมีความเร็วของเพลงที่ไม่เหมือนกัน)
ู(ดูรูป VDJ 05)

6. คลิกซ้ายที่ปุ่ม Sync ที่ Deck 2 สังเกตุดูว่าตอนนี้ ความเร็วของเพลงทั้งสองได้เข้ากันแล้ว

(ความเร็วเพลงของDeck ที่เรากดปุ่ม Sync จะอ้างอิงความเร็วเพลงของอีก Deck หนึ่งเสมอ เช่น เมื่อ Deck 1 มีความเร็วเพลงที่เล่นอยู่ เท่ากับ 136 BPM เมื่อกดปุ่ม Sync ที่ Deck 2 ไม่ว่าความเร็วเพลงต้นฉบับจะเป็นเท่าใดก็แล้วแต่ จะถูกปรับให้เหมือนกับความเร็วของอีก Deck หนึ่งเสมอ นั้นก็คือ 136 BPM) คงเข้าใจกันนะครับ ฮิฮิ

(ข้อควรจำอีกอย่างนั้นนะครับ การคลิกซ้ายที่ปุ่ม Sync ก็คือการทำให้ Beat ตรงกัน ส่วนการกดปุ่มขวาที่ปุ่ม Sync ก็คือการทำให้ เสียงเข้ากันนะครับ ทั้งสองจะมีความแตกต่างกันอยู่นะครับ ความสำคัญของการคลิกขวาหลัก ๆ ก็คือ เอาใช้ไว้เวลาที่ Beat ใหล หรือว่ากดปุ่ม Play ช้าไปหรือเร็วไป มันจะทำให้ เสียงมาประสานกันทำให้การมิกซ์เพลงนั้นง่ายขึ้นละเนียนขึ้นละครับ)

7. จากนั้นก็ลองเลื่อน Crossfader ไปทางหรือขวาเพื่อเลือกฟังหรือค่อย ๆลดเพลงลง ให้มันเนียนๆ ฮะครับ
ลองดูกันนะครับไม่รู้ว่าจะเข้าใจกันมากน้อยแค่ใหน ผมกำลังเตรียมที่จะแนะนำการใช้งานอื่นๆต่อไป ยังไงก็ลองดู Feedback กันก่อนละกันครับ แล้วเพื่อน ๆที่ยังไม่รู้เรื่อง BPM , การนับจังหวะ, หรือว่าศาสตร์และศิลป์ในการมิกซ์เพลงก็ลองหาอ่านดูในบอร์ดนะครับ ที่ปักหมุดนั้นละครับมีรุ่นพี่และก็เพื่อน ๆ ให้คำแนะนำกันมากครับ

Option


หลายๆ คนที่ใช้งาน Virtual Dj อาจยังไม่เข้าใจ หรือว่า ใช้งานโปรแกรมที่เครื่องให้มาไม่ครบทั้งหมด

วันนี้ผมเลยอยากจะแนะนำเรื่อง Option ของ Virtual Dj กันนะครับ



1. การเข้าสู่โหมด Option

การเข้าสู่โหมด Option โดยการเลือกปุ่มที่มีคำว่า Config หรือบาง Skin อาจใช้คำว่า Set นะครับ

(ดูรูป การเข้าสู่โหมด Config ประกอบนะครับ)



2. เมื่อเข้าสู่โหมด Option แล้ว ก็จะมี Pop up Window ขึ้นมานะครับ



2.1 โหมดแรก Sound Set Up โหมดนี้เข้าใจง่ายครับเพราะว่ามีภาพประกอบ

(แต่ว่าบางโหมดจะไม่สามารถใช้งานได้นะครับ ต้องเป็น Version Pro เท่านั้นครับถึงจะใช้ได้)

Input เป็นการเลือกหรือไม่เลือกว่าเราจะใช้ Time code หรือ เครื่องมือในการมิกต์หรือไม่

Output เป็นการเลือกว่าเราต้องการที่จะให้เสียงออกมาในช่องทางใหนบ้าง

Sound Cards เป็นการเลือกว่า Sound Card ของเราเป็นแบบใหน

ส่วนด้านล่างเป็นช่องต่อเนื่องจากการเลือก Output และ Sound Card ว่าเราต้องการให้ Card ตัวใหนขับเสียงออกมารูปแบบใด

(อาจและอ่านแล้วงงสักหน่อยลองดูภาพประกอบที่โปรแกรมให้มารับรองว่าเข้าใจแน่นอนครับ)

2.2 Option หรือ General



General Option ประกอบไปด้วย

Auto Update : เปิด, ปิด การให้โปรแกรมตรวจสอบ Version ใหม่โดยอัตโนมัติ (ใช้ของดูดมาก็ระวังหน่อยนะครับฮิฮิ)

Charts : เป็นการเปิด, ปิด การนับจำนวนครั้งของเพลงที่เล่นจากผู้ใช้งาน Virtual Dj ทั่วโลกว่าเพลงใหนมีผู้เล่นมากที่สุด ดูข้อมูลเพลงได้จาก www.virtualdj.com

Tooltip : เปิด, ปิด การให้โปรแกรมแสดงข้อความแนะนำเมื่อเมาท์อยู่บนปุ่มกด

MSN : เมื่อเราใช้งาน Virtual Dj จะมีโปรแกรมหนึ่งซื่อว่า Crash-Guard (ไม่ใช่ชื่อเพลงของพี่แบงค์นะ ปัดโธ่ เดี๋ยวปัดเหนี่ยวเลย.....)

มันจะทำหน้าที่ในการตู้คืนและป้องกันการ Error ของ Software อื่น ๆ รวมทั้ง Operation System (OS)

โดยมันจะทำให้ Software อื่นที่เปิดใช้งานควบคู่ไปกับ Virtual Dj แล้วเกิดการ Error เงียบ รวมทั้งเสียงของ OS ด้วย

เช่นเสียง คลิกเมาท์ แต่ว่า Version นี้ได้เพิ่มการใช้งานของขา Chat ให้ Mix&Mouth ไปพร้อมกันได้ โดยไม่ทำให้ Virtual Dj สะดุดแต่อย่างใด

(ไม่แน่ใจว่าให้เพื่อนเราฟังเพลงที่เรามิกซ์ ไปพร้อมกับการ Chat ได้หรือไม่แต่เอาเถอะใครที่อยากให้ชาวโลกได้รับรู้

และอยากประกาศตัวเป็นเจ้ายุทธจักรในการมิกซ์เพลงเอาไว้จะบอกวิธีการในโอกา ศหน้าก็แล้วกันนะครับ)

Max Load : เป็นการกำหนดระยะเวลาสูงสุดของเพลงที่ให้เครื่องของเราจดจำ เพื่อที่จะทำให้เราเล่นเพลงที่มีขนาดยาวโดยไม่กินแรงหน่วยประมวณผลของ คอมพิวเตอร์

Read ID3 Tags : ผมได้เข้าไปในเว็บไชต์ www.virtualdj.com อยู่หลายที่เหมือนกัน เห็นได้ว่ามีผู้ใช้หลายคนทั่วโลกนิยมใช้ Virtual Dj กันมาก และมีคำถามและข้อแนะนำจากเหล่าผู้ใช้งานทั่วโลกว่า

“ทำไมยูไม่ให้ Virtual Dj อ่าน ID3 Tags ได้ละ ยูรู้ใหมว่าฉันเบื่อและไม่อยากแก้ไขชื่อเพลงที่มีเป็น หมื่น ๆ เพลงของฉันในเครื่องคอมพิวเตอร์

(พ่อเอ้ย....แบ่งผมโหลดของพ่อสักเพลงสองเพลงบ้างเถอะ...) ถ้ายูไม่รีบแก้ไข ไอ คงต้อง Uninstall โปรแกรมของยูแน่”

ทางโปรแกรมเมอร์ของ Virtual Dj ก็ตอบกลับมาว่า ได้คราบ.....จะจาดให้ครับ (กรุณาทำเสียงเหมือนโฆษณาดีเทค)

นั้นเป็นเพราะว่า Virtual Dj มี Format การชื่อเพลงเป็น (ชื่อศิลปิน) ชื่อเพลง.mp3 และ ชื่อศิลปิน – ชื่อเพลง.mp3 ครับบางคนเห็นว่ามันไม่เห็นเป็นไรเลยของฉันก็อ่านได้

ใช่ครับ แต่บางเพลงทีปัญหาคือ ชื่อเพลงขึ้นก่อนศิลปิน หรือ ชื่อเพลง(นักร้องรับเชิญ) หรือ Version ของเพลงเช่น (Remix), (Radio Edit) อะไรแบบเนี้ยครับมันเลยทำให้มีปัญหาเวลาหาชื่อเพลง

ผู้ใช้ส่วนใหญ่หาทางออกด้วยวิธี หาโปรแกรมเปลื่ยนชื่อเพลงมาแก้ไขครับซึ่งเป็นวิธีมี่ดีทีเดียวครับ แต่ Virtual Dj ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจใส่โหมด ID3 Tags ให้ Virtual Dj อ่านได้

แต่แค่ ชื่อเพลงกับComment เท่านั้นนะครับ และVirtual Dj ได้เตื่อนไว้ว่ามันจะทำให้การค้นหาเพลงช้าลง ผมได้ลองOption นี้แล้วมันก็ช้าลงนะครับ(นิดดดด....หน่อย)

แต่มันก็ยังไม่ค่อยWork เท่าไหร่ครับ

Write VDJ Tags : เป็นการเลือกให้ Virtual Dj เขียน VDJ Tags ลงไปบนเพลงของเราหรือไม่ ข้อดีก็คือว่าเราสามารถเอาเพลงของเราไปใช้กับเครื่องอื่นได้โดยที่มันจะจดจำ

Cues, Comment, และข้อมูลอื่น ๆ ให้โดยไม่ต้องทำใหม่

Security : เป็นการป้องกันและให้โปรแกรมถามเราก่อนว่า “คุณแน่ใจแล้วหรือ” ก่อนที่เราจะทำอะไรลงไปอย่างผิด ๆ เช่น เปลื่ยนเพลงขณะที่เพลงกำลังเล่นอยู่

หรือปิดโปรแกรมในขณะที่ปิดเพลงอยู่ เพื่อป้องกันความผิดพลาดของเราเอง (เปิดไว้ดีกว่านะผมว่า....กันไว้ดีกว่าแก้)

Scrolling : เป็นการเลือกให้หน้าต่างแสดงจังหวะ (Rhythm Window) แสดงคลื่นเสียง (Waveform) ไปทิศทางไหน จากซ้ายไปขวาหรือจากขวาไปซ้าย

Disc : เป็นการเลือกความเร็วในการหมุนของ Turntable เสมือน บนหน้าจอว่าให้มีความเร็วเท่าใด (ความเร็วปกติจะตั่งไว้ที่ 33 1/3)

Pitch Range : เป็นการเลือกขอบเขตการตั่งค่าระดับเสียง Pitch อาจเรียกได้ว่าการตั่งค่าการปรับระดับความเร็วของเพลงให้มีระยะขอบเขตเท่าใด

เพื่อป้องกันเพลงเพี้ยน หรืออื่นๆ โดยมีให้เลือก 3 ระดับคือ -8% ถึง+8%, -12% ถึง+12%, -34% ถึง+34%



FAME Algorithm Option ส่วนนี้จะเป็นการตั้งการทำงานของระบบมิกซ์อัตโนมัติ (Auto Mix) และการใช้งานทั่วไปนะครับ

BPM Engine : ให้เลือกระหว่าง Techno/House ซึ่งวิเคาระห์หา BPM จากจังหวะการเคาะหรือการตีของเพลง ส่วนAny Music วิเคาระห์หา BPM จาก

ทำนองเพลงเหมาะสำหรับเพลงพวก Rock n’ Roll หรือ Salsa โดยการวิเคาระห์แบบ Any Music จะใช้ทรัพยากรของเครื่องมากกว่า

Auto BPM : เลือกเพื่อให้ Virtual Dj ปรับ BPM ให้โดยอัตโนมัติ

Auto Gain : เลือกเพื่อให้โปรแกรมจัดการความดังของเพลงที่ไม่เท่ากัน เมื่อเลือก Always 0dB โปรแกรมจะจัดการปรับให้เสียงอยู่ที่ 0dB, เมื่อเลือก Always Match

โปรแกรมจะทำให้เสียงของทั้งสอง Deck มีความดังเท่ากัน, เมื่อเลือก Disable โปรแกรมจะไม่ทำการได ๆ กับเสียงของเพลงนั้น

Auto Pitch-Reset : เป็นการปรับให้ Pitch เป็น 0% ทุกครั้งเมื่อโหลดแทรกใหม่

Auto EQ-Reset : เป็นการปรับให้ EQ ทั้ง 3 Band ตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่โหลดแทรกใหม่

Auto Cue : กำหนดให้โปรแกรม เริ่มตั้งเพลงที่ Cue แรกทุกครั้งที่โหลดแทรกใหม่ เมื่อไม่ได้กำหนดค่า Cue โปรแกรมจะตั้งเพลงให้ที่ Beat แรกทุกครั้งเมื่อเลือกโหมด Always

Disengage Beat Lock : ปล่อยให้ Beat Lock เป็นอิสระทุกครั้งเมื่อโหลดแทรกใหม่

Force Fade : เป็นเครื่องมือในการต่อเพลงแบบอัตโนมัติ Auto Mix อีกแบบหนึ่งใช้งานร่วมกับ Fade Length (ที่จะกล่าวถึงต่อไป)

ใช้ในการต่อเพลงแบบไม่คำนึกถึงความเร็วเพลงและห้องในการมิกต์ (มิกต์แบบร้านอาหารอะครับ ขอย้ำ ร้านอาหารนะครับไม่ใช่ คลับ) คือลด Volume แล้วเปิดอีกเพลง หรือ shot เพลงนะครับ

(เมื่อเปิดโหมดนี้ การมิกซ์เพลงอัตโนมัติจะไม่สามารถมิกซ์แบบอิง Tempo กับ Crossfader ได้นะครับต้องปิดก่อน)

Fade Length : เลือกเวลา,ความยาวเพลง ที่เราจะมิกซ์ให้มันซ้อนทับกัน

Crossfader : เลือกลักษณะของ Crossfader ที่จะใช้งาน



2.3 Performance

เป็นการตั้งค่าคุณภาพของเสียงนะครับ

2.4 Skin

เอา ไว้เลือก Skin ต่าง ๆ มาใช้งานนะครับ สำหรับใครที่ต้องการจะโหลด Skin จากทาง Website จะต้องสมัครสมาชิกและที่สำคัญจะต้องใช้ Virtual Dj ตัวจริงเสียงจริงนะครับ(หรือจะลองเสี่ยงหา Serial Number ไปลองดูก็ได้นะครับแต่ผมไม่กล้า ฮิฮิ) อ้อเขาบอกว่าคุณสามารถทำเองก็ได้ง่ายนิดเดียวโดยดูรายละเอียดที่ Website ครับ (อยากลองเหมือนกันแต่ทำไม่เป็น ใช้ Skin Upkajuy Thai Fixed 4.1r2 ดีกว่าเนอะ)

2.5 Keyboard Shortcut

เป็นการตั้งค่า Shortcut ของคุณเองได้และตั้งแต่ เมื่อใช้งานร่วมกับ MIDI โหมดนี้ละครับ (สำหรับการตั่งค่า Shortcut นี้ผมขอละไว้นะที่นี้นะครับเพราะว่าเคยอ่านเจอในบอร์ดมีคนเคยสอนเอาไว้แล้ว ไปหาอ่านดูละกันนะครับ)

2.6 Network

ตัวเลือกนี้สามารถทำให้คุณ Mix เพลงได้หลาย ๆ Deck โดยการ Synchronization Computer หลาย ๆ เครื่องรวมกัน (Network Synchronization)หรือว่าพี่ ๆ ที่เริ่มแก่ตัว หูตาฝ้าฟาง ต้องการที่จะใช้หลายหน้าจอก็ทำได้ แต่ต้องใช้ Skin แบบ Multi-Instance (โดยเลือก Local Synchronization)โดยการทำแบบนี้ปุ่ม Sync หรือ Beat Lock จะทำงานร่วมกันทั้งหมด

2.7 Remote Control

โหมดนี้จะเป็นการเลือก การใช้งาน โดยการต่อ Console ภายนอก เช่น Hercules Dj Console, ของแพงอย่างNumark iCDX หรือ Turntable ไฮโซ อย่าง XP10 เพียงแต่ว่าเพื่อน ๆ ต้องใช้ Version Pro เท่านั้นนะ Version ธรรมดาจะใช้ง่านได้แต่ Hercules Dj Console เท่านั้นนะจ๊ะ (เห็นว่ามีเพื่อน ๆ บอกว่า Beringer 2000 ใช้งานได้แต่ไม่ครบทุกปุ่ม น่าสนใจเหมือนกันนะครับทั้งหน้าตาและค่าตัว) อ้อเกือบลืมไปแล้ว เพื่อน ๆ อยากจะ Scratch แผ่น (เสมือน) แบบไม่ต้องใช้เมาท์ถูกับพื้น ก็ดูที่หัวข้อ Webcam นะครับโดยการใช้ Webcam จับความเคลื่อนไหวของมือเรา (ผมใช้ Notebook. Webcam อยู่ด้านบนผมเลยใช้หัว Scratch แทน ฮิฮิ)

2.8 Codecs

เป็นข้อมูลบอก Format File ที่ Virtual Djรองรับ แก้ไขและเพิ่มใหม่ได้ครับ

2.9 Global Database (Napster)

เป็นการหาเพลงใหม่จาก Napster

2.10 Video

มิกซ์ Music Video ตั้งแต่ต่าง ๆ เช่นแสดงชื่อเพลง อื่น ๆ

2.11 Info

เป็น Link เข้าไปที่ Website ของ Virtual Dj เพื่อ Download และเช็คโปรแกรม (ขอบอกว่าอย่าเสี่ยง)





ทั้ง หมดนี้เป็น Option ของ Virtual Dj อาจจะยาวไปสักนิดแต่เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และนำไปใช้ได้จริง ผมขอออกตัวว่าไม่ได้เก่ง และยังต้องการคำแนะนำต่าง ๆ อีกเยอะครับ ถ้ามีข้อมูลใหนตกหล่นไปหรือผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ.ที่นี้ด้วยนะครับ



เรื่องของ Virtual Dj ยังไม่หมดนะครับยังเหลืออีกหลายเรื่อง เช่น การ Set BPM ที่ไม่ตรง Beat,

การ Recording, การใช้และอัด Simple, การใช้ Effect, และอื่น ๆ ผมจะนำมาแนะนำให้ใหม่โอกาศหน้านะครับ ถ้ายังไม่เบื่อกันซะก่อน ฮิฮิ



อ้อ.....ข้อมูลที่เป็นฐานในการเขียนของผมนะครับมาจาก Atomix Virtual Dj, Dj Mix Station,Website www.virtualdj.com, และจากประสบการณ์นะครับ หวังว่าเพื่อน ๆ ที่ใช้ Virtual Dj Version ที่ต่างกันคงจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นและเข้าใจได้มากขึ้นนะครับ .



เครดิต:จาก http://www.gordai.com/club/index.php?topic=993.msg4567

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

X ปิดหน้าต่างนี้